เมนู

บทว่า จตุตฺถํ คือเป็นที่ 4 ตามลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้
ชื่อว่าที่ 4 เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งที่ 4.

[ตติยฌานมีองค์ 5 จตุตถฌานมีองค์ 3]


ในคำว่า ฌานํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้คือ :- ตติยฌานมีองค์ 5 ด้วย
องค์ทั้งหลายมีอุเบกขาเป็นต้นฉันใด จตุตถฌานนี้ ก็มีองค์ 3 ด้วยองค์ทั้งหลาย
มีอุเบกขาเป็นต้นฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อุเบกขา
(ความวางเฉย) สติ (ความระลึกได้) เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตมีอารมณ์
เดียว) ชื่อว่า ฌาน1 ดังนี้. อันนั้นเป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทาง
ตรง จตุตถฌานนี้ เว้นองค์คือสติเสีย เพราะถือเอาองค์คืออุเบกขาเวทนานั่นแล
จึงประกอบด้วยองค์ 2 เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ฌาน
ประด้วยองค์ 2 คือ อุเบกขา และเอกัคคตาแห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น
เป็นไฉน** ? คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.
กถาว่าด้วยจตุตถฌาน จบ.

[อรรถาธิบายฌาน 4 ของบุคคล 5 ประเภท]


ฌาน 4 อย่างเหล่านี้ ดังพรรณนามานี้ ของบุคคลบางพวก มีความ
ที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นประโยชน์ ของคนบางพวกเป็นบาทแห่งวิปัสสนา
ของคนบางพวก เป็นบาทแห่งอภิญญา ของคนบางพวก เป็นบาทแห่งนิโรธ
ของคนบางพวก มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.
บรรดาบุคคล 5 ประเภทเหล่านั้น ฌานทั้ง 4 ของพระขีณาสพทั้งหลาย
มีความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นประโยชน์. จริงอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้น
1. อภิ. วิ. 35 / 352 2. อภิ. วิ. 35 / 257.

ตั้งใจไว้อย่างนี้ว่า เราเข้าฌานแล้ว มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง จักอยู่เป็นสุข
ตลอดวัน ดังนี้ แล้วทำบริกรรมในกสิณ ให้สมาบัติทั้ง 8 เกิดขึ้น.
ฌานทั้งหลายของเหล่าพระเสขะและปุถุชนผู้ออกจากสมาบัติแล้วตั้งใจ
ไว้ว่า เรามีจิตตั้งมั่นแล้ว จักเห็นแจ้ง แล้วให้เกิดขึ้น จัดว่าเป็นบาทแห่ง
วิปัสสนา.
ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง 8 เกิดขึ้นแล้ว จึงเข้าฌานที่มี
อภิญญาเป็นบาท แล้วออกจากสมาบัติ ปรารถนาอภิญญา มีนัยดังที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า แม้เป็นคน ๆ เดียว กลับเป็นมากคนก็ได้* ดังนี้ จึงให้
เกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น ย่อมเป็นบาทแห่งอภิญญา.
ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง 8 เกิดขึ้น จึงเข้านิโรธสมาบัติ
แล้วตั้งใจไว้ว่า เราจำเป็นผู้ไม่มีจิตบรรลุนิโรธนิพพาน อยู่เป็นสุขในทิฏฐ-
ธรรมเทียว ตลอดเจ็ดวัน แล้วให้ฌานเกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น
ย่อมเป็นบาทแห่งนิโรธ.
ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง 8 เกิดขึ้นแล้ว ตั้งใจไว้ว่า เราเป็น
ผู้มีฌานไม่เสื่อม จักเกิดขึ้นในพรหมโลก แล้วให้ฌานเกิดขึ้น ฌานทั้งหลาย
ของบุคคลเหล่านั้น มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.
ก็จตุตถฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดขึ้นแล้ว ณ โคนต้น
โพธิพฤกษ์ จตุตุถฌานนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้เป็นบาท
แห่งวิปัสสนาด้วย เป็นบาทแห่งอภิญญาด้วย เป็นบาทแห่งนิโรธด้วย บันดาล
กิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วย บัณฑิตพึงทราบว่า อำนวยให้คุณทั้งที่เป็นโลกิยะ
ทั้งที่เป็นโลกุตระทุกอย่าง.
* องฺ. ติก. 20 / 217.

[กถาว่าด้วยปุพเพนิวาสญาณ]


ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเอเทศแห่งคุณทั้งหลาย ที่
จตุตถฌานเป็นเหตุอำนวยให้เหล่านั้น จึงตรัสว่า เอวํ สมาหิเต จิตฺเต
ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า โส เอวํ เป็นต้นเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โส คือ โส อหํ แปลว่า เรานั้น. บทว่า เอวํ นั่นเป็น
บทแสดงลำดับแห่งจตุตถฌาน. มีอธิบายว่า เราได้เฉพาะจตุตถฌาน ด้วย
ลำดับนี้.
บทว่า สมาหิเต ความว่า (เมื่อจิตของเรา) ตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิ
ในจตุตถฌานนี้.
ส่วนในคำว่า ปริสุทฺเธ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ อันอุเบกขาให้
เกิดแล้ว. มีคำอธิบายไว้ว่า ชื่อว่า ผุดผ่อง คือใสสว่าง เพราะความเป็น
ธรรมชาติบริสุทธิ์นั่นเอง.
ชื่อว่า ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน เพราะความที่กิเลสเพียงดังเนินมีราคะ
เป็นต้น อันมรรคกำจัดแล้ว เพราะฆ่าซึ่งปัจจัยมีสุขเป็นต้นเสียได้. ชื่อว่า
มีอุปกิเลสปราศไปแล้ว เพราะความไม่มีกิเลสเพียงดังเนินนั่นเอง. จริงอยู่
จิตย่อมเศร้าหมอง เพราะกิเลสเพียงดังเนิน.
ชื่อว่า เป็นธรรมชาติอ่อน เพราะอบรมดีแล้ว มีคำอธิบายว่า ถึงความ
ชำนาญ. แท้จริง จิตที่เป็นไปอยู่อำนาจ ท่านเรียกว่า มุทุ (อ่อน). อนึ่ง
ชื่อว่าควรแก่การงาน เพราะความเป็นจิตอ่อนนั่นเอง มีคำอธิบายว่า เหมาะแก่